ปวดต้นคอ
(โดย Gatom)อาการปวดต้นคอเป็นอาการที่พบบ่อย เนื่องจากคอเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีการใช้มากที่สุด และการใช้งานที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้ออักเสบได้
ยิ่งในปัจจุบัน คนต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ทำให้ต้องก้มๆ เงยๆ หน้าอยู่ตลอด ประกอบกับการใช้สมอง มากทำให้เกิดความเครียด จึงเกิดอาการปวดคอและปวดศีรษะ คอเป็นอวัยวะที่บอบบางเมื่อเทียบกับขนาดสมอง และลำตัว ทำให้ชอกเาหรือบาดเจ็บได้ง่าย คอเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทที่รับคำสั่งจากสมองไปส่วนต่างๆของ ร่างกาย อาการเจ็บคอพบไม่บ่อยเท่าอาการปวดหลัง ที่พบบ่อยที่สุดคือ กล้ามเนื้อคอหดเก็ง ทำให้เอี้ยวคอ หรือเคลื่อนไหวศีรษะไม่ได้ หรือเรียกว่าตกหมอน ชึ่งมักจะหายได้เอง
มารู้จักคอของเรากันเถอะ
คอเป็นอวัยวะสำคัญ ประกอบด้วยกระดูกคอ ๗ ชิ้น เรียกว่า cervical spine 1 หรือ C1-7 ชิ้นที่ ๑ อยู่ ติดกับกะโหลก ชิ้นที่ ๗ ติดกับกระดูกหน้าอก ระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นมีหมอนกระดูกคั่นกลาง เมื่อคลำส่วน หลังของคอจะมีตุ่มที่เป็นกระดูกยื่นมาจากส่วนหลังของกระดูกต้นคอ ตรงกลางของกระดูกมีรูเรียกว่า spinal canal ให้ประสาทไขสันหลัง spinal cord ลอดผ่าน ระหว่างรอยต่อของกระดูกต้นคอจะมีช่องให้เส้นประสาทลอด ออกไป ชึ่งจะนำคำสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อ และรับความรู้สึกส่วนต่างๆไปยังสมอง หากรูนื้เล็กลงหรือมี กระดูกงอก ไปกดก็จะทำให้มีอาการปวดต้นคอและปวดแขนการทำงานของคอ
๑. หากท่านก้มศีรษะหรือเงยหน้า หมอนกระดูกของคอจะถูกกดไปข้างหน้าและข้างหลัง๒. หากท่านหมุนคอไปทางซ้ายหรือขวา กระดูกคอแต่ละชิ้นจะหมุนตัวมันเองตามทิศทางที่ต้องการ
๓. เมื่อตะแคงศีรษะไปทางข้างใดข้างหนึ่งกระดูกข้างนั้นจะบีบตัวเข้ามา ช่องทางออกของเส้นประสาทจะ แคบลง
สาเหตุของการปวดคอทึ่พบบ่อย
๑. อิริยาบถหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ ทำให้กล้ามเนื้อบางมัดถูกใช้งานจนเมื่อยล้าเกินไป เช่น บางคนชอบ นั่งก้มหน้า หรือช่วงที่ต้องเงยหน้าอยู่ตลอดเวลา ใช้หมอนสูงเกินไป วิธีแก้ต้องใช้หมอนหนุนต้นคอหรือบริเวณ ท้ายทอย๒.ความเครียดทางจิตใจ ชึ่งอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุเช่น การงานครอบครัวการพักผ่อนที่ไม่พอเพียง ทำให้กล้ามเนื้อคอหดเกร็ง ได้เช่นเดียวกัน
๓. คอเคล็ดหรือยอก เกิดจากกล้ามเนื้อคอต้องทำงานมากเกินไป เพราะคอต้องเคลื่อนไหวเร็วหรือรุนแรง เกินไป ทำให้เอ็นและกล้ามเนึอถูกยึดมากจนฉีกขาดบางส่วนจนเกิดอาการปวด ตัวอย่างที่ทำให้เกิดคอเคล็ด เช่น การก้มเพื่อมองหาของใต้โต๊ะ การหกล้ม
๔. ภาวะข้อเสื่อม เพราะกระดูกคอต้องแบกนํ้าหนักอยู่ตลอดเวลาทำให้ข้อเสื่อมตามอายุ มีปุ่มกระดูกหรือกระดูกงอกทีขอบของข้อต่อ ชึ่งอาจจะไปกดทับ ถูกปลายประสาททีโผล่ออกมา ภาวะข้อกระดูกเสื่อมอาจจะไม่มีอาการปวดหรือ ผิดปกติใดๆ แต่อาจจะพบโดยบังเอิญ
๕. อาการบาดเจ็บของกระดูกคอ ชึ่งอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น ตกที่สูง ถูกทำร้ายร่างกาย รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์พลิกควํ่า ผู้ป่วย มักจะมีอาการบาดเจ็บของร่างกายส่วนอื่นด้วย
๖. โรคข้ออักเสบ เรื้อรังบางชนิดอาจจะทำให้ กระดูกต้นคออักเสบด้วย เซ่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์
๗.โรคที่เป็นสาเหตุของอาการปวดต้นคอ
-โรคหมอนรองกระดูก [ Cervical Disc Disease ] เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น รถชนกันทำให้ศีรษะ หงายหลัง หรือเกิดจากข้ออักเสบทำให้หมอนรองกระดกเสื่อม และการเลื่อนของหมอนรองกระดูกไปกดทับเส้นประสาททำให้เกิดอาการ ปวดเหมือนไฟช๊อกจากต้นแขนไปปลายแขนร่วมกับอาการชา หากไม่ รักษาอาจจะทำให้แขนอ่อนแรงถึงกับเป็นอัมพาต
-ท่อไขสันหลังตีบ [ Cervial stenosis ] เนื่องจากมีการเสื่อมของกระดูกต้นคอและหมอนรองกระดูกทำให้ รูในท่อไขสันหลังแคบ จึงมีการกดทับประสาทไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ ชามือ เดินเร็วจะปวดขา ทำงานที่มีความละเอียดไม่ได้
-กระดูกต้นคอเสื่อม [ Osteoartgritis ] เมื่อใช้งานมานานก็เกิดการเสื่อม หมอนรองกระดูกจะบางลงและ มีกระดูกงอกผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ มักจะเป็นมากในตอนเช้า คือปวดต้นคอร้าวไปบริเวณไหล่หรือสะบัก
การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการเจ็บคอ
๑. ผู้ทีมีอาการปวดต้นคอ หรือทีเรียกว่าตกหมอนส่วนใหญ่ จะเกิดจากการได้รับบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ หรือเอ็นรอบคอ คอจะแข็งอย่างเฉียบพลันหลังจากการเอื่ยว บิดผิดท่าหรือภายหลังการตื่นนอน การรักษาสามารถ ทำได้โดย-พยายามพัก อย่าเคลื่อนไหวคอ ทางที่ดีควรจะนอนพัก
-รับประทานยาแก้ปวด หากไม่มากใช้ยา paracetamol 500 mg. หากปวดมากก็ใช้ยากลุ่ม NSAID
-ในระยะแรกอาจจะประคบด้วยนํ้าแข็งใส่ถุงพลาสติกห่อผ้าขนหนูวางบริเวณที่ปวด หรือจะใช้นํ้าอุ่นประคบประมาณ ๑๐ - ๑๕ นาที
-ไม่มีความจำเป็นที่จะใส่ปลอกคอ นอกจากจะปวดมากๆ
-ไม่ควรจับเส้นในระยะเฉียบพลันเพราะอาจจะเกิดผลเสีย
๒. สำหรับผู้ทีปวดคอเรือรัง อาการปวดมักจะไม่รุนแรง แต่เวลาก้มหรือเงย ตะแคงหรือเอี้ยวคอจะทำให้ปวด เพิ่มขึ้น การดูแลเบื้องต้น ได้แก่
-กินยาแก้ปวด
-ประคบด้วยนํ้าแข็งหรือนํ้าอุ่นไว้แล้ว
-การนวดหรือกดจุด โดยถูกหลักวิชาอาจจะช่วยระงับอาการปวดได้ การนวดง่ายๆอาจทำภายหลังจากการ อาบนํ้าอุ่นหรือประคบร้อนแล้ว ๑๐ - ๑๕ นาที
-เริ่มการฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อคอ
อาการเจ็บคอที่ต้องรีบพบแพทย์
-อาการปวดต้นคอร่วมกับมีอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนหรือขา และอาการอ่อนแรงเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ชึ่งการรักษาอาจจะต้องทำการผ่าตัด-อาการปวดข้อร่วมกับเบื่ออาหาร นํ้าหนักลด
-มีอาการปวดคอร่วมกับมีไข้สูง คอแข็ง ก้มหน้าเอาคางจรด อกไม่ได้ อาจจะเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
-อาการปวดต้นคอที่เป็นตลอดอย่างต่อเนื่อง
-มีอาการปวดต้นคออย่างมาก
-อาการเจ็บคอหลังจากได้รับอุปติเหตุ
การออกกำลังกายกล้ามเนื้อคอ
การออกกำลังกายโดยทั่วไป นับเป็นส่วนสำคัญข้อหนึ่ง เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้หัวใจแข็งแรง มี การสูบฉีดโลหิตเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อของร่างกายหลายๆส่วน เช่นกล้ามเนื้อขาหลังจะแข็งแรง กระดูกจะเสื่อมน้อย การ รักษาการปวดคอเรื้อรังหรือเป็นๆ หายๆ การบริหารกล้ามเนื้อคอจะแบ่งเป็นสองระยะได้แก่๑. ระยะแรกบริหารเพิ่มความยืดหยุ่นของเอ็นและกล้ามเนื้อรอบคอ โดยเอียงคอทางซ้าย - ขวา ก้ม - เงยหน้า
๒. ระยะต่อมาจึงจะสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยการใช้แรงต้านจากมือ
การรักษาโดยกายภาพ
เป็นการทำกายภาพเพี่อช่วยผ่อนคลายอาการปวดคอให้ท่านได้ โดยวิธีการดังต่อไปนื้- การประคบร้อน
- การใช้เครื่อง ultrasound
- การอบร้อน Diathermy
- การใช้ Laser
-การดึงคอ
- การนวด
-การใส่ปลอกคอ
การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการปวดคอ
๑. ระวังอิริยาบถ ทั้งการยืนการนั่ง การนอนการทำงาน ให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม๒. ควรหาเวลาหยุดพักเพี่อออกกำลังกล้ามเนื้อคอ เคลื่อนไหวคอ หรือเปลี่ยนอิริยาบถสัก ๒-๓ นาทีทุกชั่วโมง
๓. เลือกเก้าอี้นั่งที่เหมาะสมการพักผ่อนที่เพียงพอ เลือกหมอนและที่นอนที่มีลักษณะเหมาะสม
๕. ระมัดระวังในการใช้ยา
๖. หมั่นบริหารคอตามวิธีช้างต้น
Download Click!!! Here!!!
ที่มา http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/rheumatoid/neck_pain/ neckpain.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น