ค้นหารายการหนังสือบล็อกนี้

วันอาทิตย์, ตุลาคม 12

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานและการดูแลตัวเอง

โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อม ไร้ท่อในตับอ่อน ซึ่งไม่สามารถ ผลิตหรือหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ได้เพียงพอที่จะใช้เปลี่ยนนํ้าตาล ในร่างกาย ซึ่งได้จากอาหารจำพวกแป้ง ไขมัน และโปรตีน ให้เกิดเป็นพลังงานที่จะใช้สำหรับการเคลื่อนไหว และ การทำงานของอวัยวะต่างๆ จึงท่าให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ จนเกิน ความลามารถของไตที่จะกัก เก็บเอาไว้ได้ นํ้าตาลส่วนเกิน จะถูกขับถ่ายออกมาในปัสสาวะ ท่าให้ปัสสาวะหวาน จึงเรียก โรคนี้ว่า "เบาหวาน"

สาเหตุของการเป็นโรคเบาหวาน

สาเหตุของการเป็นโรคเบาหวาน ยังไม่แน่นอน แต่องค์ประกอบ ที่สำคัญ ๆ ที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคเบาหวานมีดังนี้

  • 1.กรรมพันธุ : มักพบโรคนี้ในผู้ที่มีบิดามารดาญาติพี่น้องเป็นโรคเบาหวาน
  • 2.ความอ้วน : 60-80 % ของผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นคนอ้วน
  • 3.อายุมากขึ้น : โรคเบาหวานมักเป็นกับคนที่มีอายุมากเกิน 40 ปีขึ้นไป
  • 4.ความเครียด : ทำให้โรคเบาหวานแสดงออก
  • 5.เชื้อไวรัส : ทำลายเซลล์ของต่อมเล็ก ๆ ในตับอ่อน ที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมน อินซูลิน
  • 6. ยาบางชนิด : เช่นยาพวกสเตียรอยค์ (เช่น เพ็ดนิโซโลน) ถ้าใช้นานๆ อาจทำให้เกิดโรคเบาหวาน
  • 7.การตั้งครรภ์: ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หลายๆ ครั้งมีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวาน ได้ง่าย
  • 8.พิษสุราเรื้อรัง : ผู้ดื่มสุราและดื่มเป็นประจำทำให้ตับอ่อนเสื่อมสมรรถภาพได้ 


จะเห็นได้ว่าสาเหตุบางอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เช่น กรรมพันธุ การมีอายุมากขึ้น แต่บางอย่างก็สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นผู้ที่รู้บิดามารดา หรือญาติ พี่น้องเป็นโรคเบาหวานจึงจำเป็นต้องพยายาม หลีกเลี่ยงสาเหตุอืนๆที่จะมาเสริมให้โรคเบาหวานแสดงออกได้ง่ายกล่าวคือ ไม่ให้อ้วน หลีกเลี่ยงสุรา บุหรี่ และยาที่ทำให้นํ้าตาลในเลือดสูงขึ้น


อาการแสดงของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน


  • ปัสสาวะบ่อยและมาก
  • กินจุแต่ผอมลง
  • กระหายน้ำบ่อย
  • น้ำหนักลดและอ่อนเพลีย
  • เป็นแผลหรือฝีง่ายแต่หายยาก
  • เจ็บปวดตามกล้าวเนื้อ ชาปลายมือ ปลายเท้า หมดความรู้สึกทางเพศ
  • คันตามผิวหนังและบริเวณอวัยวะสืบพันธ์
  • ตาพร่า มัว ต้องเปลี่ยนแว่นต่าบ่อยๆ


ภาวะน้ำตาลในเลือดตํ่า HYPOGLYCEMIA

ในคนปกติธรรมดาแม้จะออกกำลังกายอย่างมากก็ไม่ถึงกับทำให้เกิดภาวะนํ้าตาลในเลือดต่ำจนถึง กับมีอันตราย ได้ แต่จะพบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานที่กินยาหรือฉีดอินซูลินมากเกินไป หรือไม่ได้ส่วน สัมพันธ์ กับอาหารที่กินและการออกกำลังกาย ถ้าระดับนํ้าตาลในเลือดต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของระดับปกติ คือ 40-50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะทำให้เกิด อาการหมดสติขึ้นได้ เนื่องจากสมองและประสาทต้องใช้กลูโคสเป็นพลังงานแต่อย่างเดียว

อาการที่สังเกตได้เมื่อเกิดภาวะนํ้าตาลในเลือดดํ่า


  • •หิว ใจสั่น มือสั่น
  • •อ่อนเพลีย มึนงง เวียนศรืษะ หน้ามืดตาลายคล้ายจะเป็นลม
  • •เหงื่อออกมาก ซีด
  • •ตาพร่ามัว
  • •อาจชักหรือไม่รู้สึกตัว


การดูแลตัวเองเมื่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำควรปฎิบ้ติ ดังนี้
• รีบดื่มน้ำหวานหรือรับประทานของหวานทันทีเมื่อหายจากอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำแล้วต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ


อันตรายจากโรคแทรกซ้อน

โรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน จัดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะจะเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายต่อผู้ปวย จนถึงทุพพลภาพและเสียชึวิตได้ง่าย

โรคแทรกซ้อนที่อันตรายมีดังนี้

- ตาอาจบอดได้ถึง 25 เท่าของคนปกติ
-อาจเกิดโรคไตได้ ถึง 27 เท่าของคนปกติ
-มีโอกาสเกิดโรคเท้าเน่าจำต้องตัดขาทิ้ง ถึง5 เท่าของคนปกติ
-อาจเกิดโรคหัวใจขาดเลือดจนกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ถึง 2 เท่าของคนปกติ ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานที่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็นโรคใหม่ ๆ และ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติจะช่วยยับยั้งหรือลด ความรุนแรงของอันตรายจากโรคแทรกช้อนเหล่านี้ให้ลดน้อยลงได้

การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคเบาหวาน

1. ควบคุมอาหารและของหวานทุกชนิด อย่างสม่ำเสมอ
2.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตามความสามารถของแต่ละ บุคคล ไม่ควรหักโหม เช่น การเดินเร็วๆ อย่างน้อย วันละ 20-30 นาทีติดต่อกัน
3.หมั่นตรวจดูสภาพเท้า ดูรอยถลอกหรือบาดแผล บริเวณ ข้อเท้า ตาตุ่ม ฝ่าเท้า ส้นเท้าตลอดจนซอกนิ้วเท้า หากพบสิ่งผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์และหากพบว่าผิงหนังที่เท้าแห้งอาจใช้ครีมทาผิว ทาเพื่อป้องกันผิวหนังแตกและรักษาเท้าให้สะอาดอยู่เสมอหลัง อาบน้ำควรเช็ดเท้า และซอกนิ้วเท้าให้แห้ง
4.รับประทานยาหรือฉีดยา(อินซูลิน) ตามขนาดที่แพทย์ สั่งเป็นประจำอย่างเคร่งครัด ไม่ควรเพิ่มหรือลดขนาดยาเอง
5.รู้วิธีตรวจหาระดับน้ำตาลในปัสสาวะด้วยตนเองและ ควรตรวจปัสสาวะสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง หรือทันทีที่มี
อาการผิดปกติ เพื่อจะได้ทราบว่าน้ำตาลในเลือดสูงมากไป หรือต่ำเกินไป และ กำหนดปริมาณ และชนิดของอาหารให้เหมาะสม
6.ขจัดปัจจัยที่ล่งเสริมความรุนแรงของโรคเบาหวาน โดยเลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มเหล้า และเลิกรับประทานอาหารทีมีรสเค็มและผ่อนคลายความเครียด
7.มีขนมหวานหรือลูกอม และบัตรประจำตัวผู้ป่วย เบาหวานติดตัวไว้เสมอ เพื่อป้องกันการเป็นลมหมดสติจากภาวะ นํ้าตาลในเลือดต่ำเกินไป
8.ติดตามการรักษาให้สม่ำเสมอ ไปพบแพทย์ตามที่ แพทย์นัดทุกครั้ง เพื่อปรับขนาดยารักษาเบาหวานให้เหมาะสม และ ป้องกันโรคแทรกซ้อน

การออกกำลังกายสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน

ท่าออกกำลังกายสำหรับผู้ป่ายเบาหวาน



ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้เป็นเบาหวาน

•ช่วยให้ระดับนํ้าตาลในเลือดลดลงเพราะขณะออกกำลังกายกล้ามเนื้อและไขมัน จะใช้น้ำตาลเพิ่มขึ้น
•ช่วยให้น้ำหนักตัวลดลง ซึ่งจะทำให้อาการของโรค เบาหวานดีขึ้น
•ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ซึ่งจะลดโรคแทรกซ้อน บางอย่างของโรคเบาหวานได้

หลักการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องหักโหม แต่ควรทำ ให้สม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง และควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละคน เช่น ในผู้สูงอายุอาจเดิน หรือบริหารร่างกายเบาๆ ตามความเหมาะสม

ควรจะกินอย่างไรดี


  • •กินผักให้มากขึ้น
  • •กินข้าวตามกำหนดถ้าไม่อิ่มให้กินผักเพิ่ม
  • •กินผลไม้ที่มีรสหวานน้อย เช่น ส้ม มะละกอ ฝรั่ง พุทรา
  • •ใช้เต้าหู้ ถั่วต่างๆ ในการประกอบอาหารให้มากขึ้น
  • •ใช้นํ้ามันพึชแทนไขมันสัตว์ เช่น นํ้ามันรำข้าว ถั่วเหลือง (แต่ไม่ใช้ นํ้ามันปาล์ม หรือนํ้ามันมะพร้าว หรือกะทิ)
  • •กินอาหารให้ตรงเวลา


การดูแลรักษาสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

•ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลสุขภาพของตนเองอยู่เสมอ
•ความเครียด เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวานอย่างมาก


  • ตรวจสุขภาพฟันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ตรวจสุขภาพตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • มาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง
  • ทำจิตใจให้สบายไม่เครียด


การดูแลรักษาเท้าให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อ ป้องกันโรคแทรกช้อนเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อมีบาดแผลที่เท้า ต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็ว

การดูแลรักษาความสะอาดเท้าสำหรับผู้ป่ายเบาหวาน



ข้อเตือนใจสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

รู้จักการควบคุมนํ้าหนักของร่างกายให้อยู่ใน เกณฑ์ มาตรฐานไม่อ้วนเกินไป หรือผอมเกินไป ถ้าอ้วนจะ ต้อง ลดนํ้าหนัก ถ้าผอมต้องพยายามให้นํ้าหนักเพิ่มขึ้นอยู่ ในเกณฑ์

รู้จักการควบคุมอาหาร ซึ่งมิใช่การอดอาหาร แต่เป็นการกำหนดปริมาณและชนิดของอาหารให้ เหมาะสมกับระดับนํ้าตาลในเลือดของแต่ละบุคคล

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ไม่ใช่เป็นผู้ไร้สมรรถภาพ ถ้ารักษาและควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ดีก็จะดำรง ชีวิตอยู่ได้เหมีอนคนปกติให้รู้จักปล่อยวางอย่าวิตกกังวล หรือมีความเครียดให้มากเกินไปแม้เป็นเบาหวาน ชีวิตก็เบิกบานได้

Download Click!!! Here!!!






เครดิต
เว็ปเพื่อนบ้าน(โหลดจากเว็ปบิตไม่รู้ใครปล่อยถือว่าเป็นวิทยาทานนะครับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น