เรื่อง สมดุลเคมี
1. ลักษณะทั่วไปของภาวะสมดุล
1.1 ที่อุณหภูมิหนึ่งๆ เมื่อระบบเข้าสู่ภาวะสมดุล สมบัติต่างๆของระบบจะคงที่ (แต่ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน)1.2 ณ ภาวะสมดุล การเปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยายังคงเกิดขึ้นตลอดเวลา เรียกว่า ภาวะสมดุลไดนามิก (dynamicequilibrium) โดยอัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า = อัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ
1.3 ภาวะสมดุลจะเกิดขึ้นในระบบปิด และเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบผันกลับได้
ดังนั้น ที่ภาวะสมดุลจะมีสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ทุกชนิดอยู่ในระบบ
1.4 ระบบสามารถเข้าสู่สมดุลได้เอง ไม่ว่าจะเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าหรือย้อนกลับ
ตัวอย่างข้อสอบ 1. กราฟที่แสดงต่อไปนี้สอดคล้องกับปฏิกิริยาในข้อใด (ต.ค. 2541)
1. 2A + B ⊇ C + D 2. 2A + B ⊇ 2C + D
3. A + B ⊇ C +D 4. A + 2B ⊇ 2C + D
ตอบ ข้อ 1
วิธีคิด โจทย์กำหนดกราฟความเข้มข้นกับเวลาของ A และ C โดย ความเข้มข้นของ A ลดลง ส่วนความ
เข้มข้นของ C เพิ่มขึ้น จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะสมดุล ซึ่งความเข้มข้นของ A และ C คงที่ แสดงว่า A เป็นสารตั้งต้น และ C เป็นผลิตภัณฑ์
สาร A ที่เกิดปฏิกิริยาไป = (0.20 – 0.04) = 0.16 mol/dm3
สาร C ที่เกิดจากปฏิกิริยา = 0.08 mol/dm3
mol A : mol C = 0.16 : 0.08 = 2 : 1
ดังนั้น ปฏิกิริยาที่สอดคล้องกับกราฟนี้คือ ข้อ 1 : 2A + B ⊇ C + D
Download เอกสาร เพื่อศึกษาหาความรู้ คลิก!!!
ที่มา
ออกอากาศวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 เวลา 19.30 – 20.30 น.
เอกสารประกอบการบรรยายภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น